เทรดเดอร์มือใหม่ต้องรู้ 3 ภาวะตลาดสินทรัพย์มีอะไรบ้าง เตรียมพร้อมก่อนลงทุนและเทรด งัดกลยุทธ์รับมือทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด
สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่กำลังก้าวเข้าสู่โลกของการเทรด สิ่งแรกที่สำคัญต้องทำความเข้าใจคือเรื่องของ ภาวะตลาด หรือสภาวะโดยรวมของตลาดสินทรัพย์ ณ ขณะนั้น เพราะจะส่งผลต่อกลยุทธ์การลงทุนและโอกาสในการทำกำไร
ดังนั้นในบทความนี้ EBC Financial Group จึงขอพาเทรดเดอร์ทั้งหน้าเก่าและใหม่ไปทำความเข้าใจ 3 ภาวะตลาดหลัก ได้แก่ กระทิง หมี และ Sideway พร้อมเจาะลึกแต่ละสภาวะว่านักลงทุนควรวางกลยุทธ์อย่างไรบ้างแบบจัดเต็มไม่มีกั๊ก
ตลาดกระทิง เปรียบเสมือนช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นหรือสินทรัพย์ต่างๆ กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนมีความเชื่อมั่นและมองว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นอีก ทำให้เกิดแรงซื้อจำนวนมากดันให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นไปเรื่อยๆ สัญญาณที่บ่งบอกถึงตลาดกระทิง ได้แก่
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น: เป็นสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดว่าตลาดกำลังอยู่ในช่วงกระทิง
ปริมาณการซื้อขายหนาแน่น: นักลงทุนเข้ามาซื้อขายมากขึ้น เนื่องจากมองเห็นโอกาสในการทำกำไร
ข่าวสารและปัจจัยพื้นฐานเป็นไปในทิศทางบวก: เศรษฐกิจเติบโต บริษัทมีผลประกอบการที่ดี และมีข่าวสารสนับสนุนการลงทุน
นักลงทุนมีความเชื่อมั่นสูง: ความรู้สึกโดยรวมของตลาดเป็นไปในเชิงบวก
กลยุทธ์การเทรดในตลาดกระทิง: ในภาวะตลาดนี้ กลยุทธ์ที่เทรดเดอร์นิยมใช้คือ Buy and Hold หรือการซื้อและถือเพื่อลงทุนในระยะยาว เนื่องจากเชื่อว่าราคาอาจปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่การเก็งกำไรระยะสั้นด้วยการซื้อเมื่อราคาย่อตัวลง (Buy on Dip) ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
ตรงกันข้ามกับตลาดกระทิง ตลาดหมี คือช่วงเวลาที่ตลาดอยู่ในช่วงขาลงอย่างต่อเนื่อง ราคาสินทรัพย์ต่างๆ ปรับตัวลดลงอย่างมาก นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและกังวลว่าราคาจะลดลงอีก ทำให้เกิดแรงขายจำนวนมาก สัญญาณที่บ่งบอกถึงตลาดหมี ได้แก่
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง: เป็นสัญญาณหลักของตลาดหมี
ปริมาณการซื้อขายเบาบาง: นักลงทุนชะลอการลงทุนและพยายามขายสินทรัพย์ออก
ข่าวสารและปัจจัยพื้นฐานเป็นไปในทิศทางลบ: เศรษฐกิจชะลอตัว บริษัทมีผลประกอบการไม่ดี และมีข่าวสารเชิงลบส่งผลกระทบต่อตลาด
นักลงทุนมีความกังวลสูง: ความรู้สึกโดยรวมของตลาดเป็นไปในเชิงลบ
กลยุทธ์การเทรดในตลาดหมี: ในช่วงตลาดหมี การป้องกันความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญ กลยุทธ์ที่นิยมใช้ ได้แก่ การขายทำกำไรเมื่อราคาปรับตัวขึ้นเล็กน้อย (Sell on Rally) หรือ การถือเงินสด เพื่อรอจังหวะที่ตลาดกลับมาเป็นขาขึ้น หรือนักลงทุนบางรายอาจใช้กลยุทธ์ Short Selling หรือการขายชอร์ตเพื่อทำกำไรจากราคาที่ปรับตัวลดลงก็ได้เหมือนกัน
ตลาด Sideway หรือ ตลาดทรงตัว คือช่วงเวลาที่ราคาสินทรัพย์ไม่ได้ปรับตัวขึ้นหรือลงอย่างชัดเจน แต่จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบราคาที่ค่อนข้างแคบ นักลงทุนยังไม่มั่นใจในทิศทางของตลาด ทำให้เกิดการซื้อขายในลักษณะที่ไม่หวือหวา สัญญาณที่บ่งบอกถึงตลาด Sideway ได้แก่
ราคาสินทรัพย์เคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ : ไม่มีการปรับตัวขึ้นหรือลงอย่างมีนัยสำคัญ
ปริมาณการซื้อขายปานกลาง: ไม่หนาแน่นเท่าตลาดกระทิง และไม่เบาบางเท่าตลาดหมี
ข่าวสารและปัจจัยพื้นฐานไม่มีผลกระทบต่อตลาดมากนัก: ตลาดยังไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ ที่จะมากำหนดทิศทาง
กลยุทธ์การเทรดในตลาด Sideway: ในช่วงตลาด Sideway การเทรดในกรอบราคา (Range Trading) เป็นกลยุทธ์ที่นิยมใช้ โดยจะซื้อเมื่อราคาลงมาถึงแนวรับ และขายเมื่อราคาขึ้นไปถึงแนวต้าน อย่างไรก็ดี นักลงทุนบางรายอาจเลือกที่จะพักการเทรด เพื่อรอให้ตลาดมีทิศทางที่ชัดเจนก่อน จากนั้นค่อยลุยตามกลยุทธ์ที่วางเอาไว้ก็เป็นได้
การทำความเข้าใจภาวะตลาดทั้ง 3 ประเภทนี้เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับนักลงทุนทุกคน การวิเคราะห์และประเมินภาวะตลาดจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนกลยุทธ์การเทรดได้อย่างเหมาะสม และเพิ่มโอกาสในการทำกำไร รวมถึงลดความเสี่ยงในการลงทุน อย่าลืมติดตามข่าวสารและปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อตลาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คุณสามารถปรับตัวและรับมือกับทุกสภาวะตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใด ๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใด ๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
รู้จัก เส้น SMA (Simple Moving Average) ตัวชี้วัดทางเทคนิคพื้นฐานสำหรับเทรดเดอร์ อธิบายความหมาย พร้อมการเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้วิเคราะห์สินทรัพย์
2025-07-09เทรดเดอร์ต้องรู้ สัญญาณ Overbought Oversold คืออะไร ก่อนลุยตลาดสินทรัพย์เสี่ยง พร้อมเผยกลยุทธ์แนวโน้มราคาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตแบบไม่มีกั๊ก
2025-07-09ค้นพบความแตกต่างที่สำคัญระหว่างดัชนี KOSPI และ S&P 500 เพื่อพิจารณาว่าดัชนีใดให้การกระจายความเสี่ยงที่ดีกว่าสำหรับพอร์ตการลงทุนทั่วโลกของคุณ
2025-07-09