เปิดข้อมูล ปฏิทิน Forex คืออะไร ทำไมถึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในตลาดสินทรัพย์เสี่ยง พร้อมเปิดลิสต์ข่าวเศรษฐกิจน่าสนใจประจำเดือนกรกฎาคม 2568
การติดตามข่าวเศรษฐกิจโลกเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเทรดเดอร์ทุกคน เพราะนอกจากจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ในตลาด Forex แล้ว ยังเกี่ยวกับการประเมิณสถานการณ์ตลาดในอนาคตอันใกล้ด้วย ทำให้ปฏิทิน Forex กลายเป็นครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เทรดเดอร์นับวันถอยหลังสำหรับเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ
ดังนั้น EBC Financial Group โบรกเกอร์จากกรุงลอนดอนจึงขอเปิดข้อมูลเชิงลึกว่า ปฏิทิน Forex คืออะไร เกี่ยวกับตลาดยังไง ข้อควรระวังที่ควรรู้ และตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญในปฏิทิน Forex ประจำเดือนกรกฎาคม 2568
ปฏิทินเศรษฐกิจ หรือ ปฏิทิน Forex (Forex Economic Calendar) คือเครื่องมือที่รวบรวมและแสดงรายการเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลต่อความเคลื่อนไหวของตลาดเงิน ไม่ว่าจะเป็นการประกาศตัวเลข GDP, ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI), ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI), อัตราการว่างงาน, รายงาน Non-Farm Payrolls, ดุลการค้า, การตัดสินใจอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง (เช่น Fed, ECB, BOJ), การประชุมสำคัญขององค์กรเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และรายงานเศรษฐกิจประจำไตรมาส
เนื่องจากเหตุการณ์ข้างต้นมักถูกจัดอันดับตามระดับผลกระทบ ตั้งแต่ระดับต่ำ ปานกลาง จนถึงสูง ต่อคู่สกุลเงินต่าง ๆ ทำให้เทรดเดอร์สามารถวางแผนล่วงหน้าได้ และเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจซื้อขายได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น เพราะข้อมูลดังกล่าวจะรบุประเทศที่เกี่ยวข้อง ค่าตัวเลขที่ผ่านมา (Previous) ค่าคาดการณ์ (Forecast) และค่าจริงเมื่อประกาศออกมา (Actual) แบบครบทุกภาคส่วน
ปฏิทิน Forex ถือว่าเป็นตัวช่วยชั้นดีที่สามารถทำให้เทรดเดอร์จับจังหวะตลาดได้ดีขึ้น เพราะข้อมูลในปฏิทินจะแจ้งล่วงหน้าว่าเหตุการณ์ใดบ้างที่มีแนวโน้มจะกระทบต่อสกุลเงินหรือสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ข่าวเศรษฐกิจ, การประกาศตัวเลขสำคัญ หรือถ้อยแถลงจากธนาคารกลาง เนื่องจากโดยทั่วไปเหตุการณ์ดังกล่าวมักทำให้ตลาดผันผวนแทบจะในทันที
ยกตัวอย่างการจัดการความเสี่ยงในการเทรด นักลงทุนสามารถเลี่ยงการเปิดสถานะก่อนการประกาศข่าวสำคัญหรือตั้งค่า Stop Loss และ Take Profit ให้เหมาะสมกับระดับความผันผวนที่คาดเอาไว้ เพราสมมุติว่ามีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อออกมาสูงกว่าคาด อาจป็นสัญญาณว่าแบงก์ชาติจะพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผลต่อทิศทางของเงินสกุลนั้นในระยะกลางถึงยาวก็เป็นได้
โดยเฉพาะการประกาศอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา อาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ (USD) ที่ถือว่าเป็นสกุลเงินสำคัญของโลกเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดความผันผวนของคู่สกุลเงินอื่น ๆ ที่เทรดเดอร์รายนั้นกำลังวางแผนซื้อขายทั้งขาขึ้นและลงอยู่นั่นเอง
23 ก.ค. : (สหรัฐฯ) ปริมาณเงิน M2, ดัชนีตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย, ดัชนีรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย, ดัชนีน้ำมันเบนซินคงคลัง, อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะ 30 ปี
24 ก.ค. : (สหรัฐฯ) จำนวนคนยื่นขอสวัสดิการว่างงาน, ดัชนี PMI, รายงานปริมาณก๊าซสำรอง, ดัชนี KC Fed Composite Index
25 ก.ค. : (สหรัฐฯ) Fed's Balance Sheet, ยอดเงินสำรองธนาคารกลาง
26 ก.ค. : (สหรัฐฯ) ฐานะสุทธิถั่วเหลือง ทองคำ ก๊าซธรรมชาติ ข้าวสาลี โลหะเงิน ทองแดง ของนักลงทุนรายใหญ่
27 ก.ต. : (จีน) กำไรภาคอุตสาหกรรม YTD
28 ก.ค. : (สหรัฐฯ) ดัชนีธุรกิจภาคการผลิตธนาคารกลางรัฐดัลลาส, (ฮ่องกง) ดุลการค้า, (สวีเดน) ดุลการค้า, (ไอร์แลนด์) ดัชนีจีดีพี
29 ก.ค. : (สหรัฐฯ) ดุลการค้าสินค้า มิ.ย., ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย, ดัชนีราคาบ้าน, ดัชนีราคาการเคหะ
30 ก.ค. : (สหรัฐฯ) ดัชนีจีดีพี, จีดีพีวัดค่ายอดขาย
31 ก.ค. : (สหรัฐฯ) การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย, ดัชนีอัตราค่าจ้างแรงงาน, (ออสเตรเลีย) ดัชนีราคาส่งออก
1. อย่ามั่นใจกับการคาดการณ์ล่วงหน้าอเกินไป: แม้ค่าคาดการณ์ (Forecast) จะให้แนวโน้มกับเทรดเดอร์ แต่ตลาดมักเคลื่อนไหวไปก่อนหรือสวนทางกับสิ่งที่ประกาศจริง โดยเฉพาะถ้ามีการตีความว่าข้อมูลนั้น "ดีกว่าหรือแย่กว่าคาด" จนเกินไป
2. ดูบริบททางเศรษฐกิจโดยรวม: ตัวเลขเดียวกันอาจตีความต่างกันในแต่ละช่วงเวลา เช่น การว่างงาน 5% อาจถือว่าแย่ในเศรษฐกิจขาขึ้น แต่ดูปกติในช่วงถดถอย การตีความที่ไม่สอดคล้องกับบริบท จึงอาจนำไปสู่การวางกลยุทธ์ที่ผิดได้
3. ควรเตรียมแผนรับมือความผันผวน: การประกาศข่าวสำคัญมักทำให้ตลาดเกิดความผันผวนสูง อาจเกิด Slippage หรือ Spread ขยายกว้างกว่าปกติ
4. อย่าพึ่งข้อมูลจากปฏิทิน Forex อย่างเดียว: การวิเคราะห์ข่าวควรทำควบคู่กับการวิเคราะห์ทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐาน เพื่อให้ได้ภาพรวมที่ชัดเจนและลดความเสี่ยงจากการตัดสินใจที่อิงกับข้อมูลด้านเดียว แม้ปฏิทิน Forex จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากก็ตาม
ปฏิทิน Forex เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่นักเทรดมืออาชีพและมือใหม่ต่างใช้เพื่อติดตามเหตุการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกที่อาจส่งผลต่อทิศทางราคาในตลาดเงิน เช่น การประกาศอัตราดอกเบี้ย ตัวเลขการจ้างงาน GDP หรือดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวสามารถสร้างแรงกระเพื่อมแก่ตลาดหรือทำให้เกิดความผันผวนได้ทันที
แต่ถึงกระนั้น เทรดเดอร์ก็ไม่ควรยึดข้อมูลของปฏิทิน Forex เป็นที่ตั้งเพียงอย่างเดียว เพราะกลยุทธ์การเทรดที่ดีนั้นจำเป็นต้องดูควบคู่ไปกับกราฟราคาหรือข้อมูลทางเทคนิค เช่น แท่งเทียน เส้น RSI MA ฯลฯ ด้วย เพื่อวางแผนการตั้งเปิดออเดอร์ซื้อขายได้อย่างแม่นยำ เพราะอย่าลืมว่าในตลาดฟอเร็กซ์ ไม่ได้มีเทรดเดอร์แบบเราแค่คนเดียว
คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใด ๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใด ๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
กำลังมองหารายได้ที่มั่นคงสำหรับวัยเกษียณอยู่ใช่ไหม? ค้นพบว่า SCHD ETF มอบความมั่นคงด้านรายได้แบบพาสซีฟที่ผู้เกษียณอายุต้องการในตลาดผันผวนในปัจจุบันหรือไม่
2025-07-24สำรวจบทบาทของทองคำในกลยุทธ์การเทรด เจาะจังหวะเข้าออก จุดเสี่ยง และสัญญาณสำคัญ เพื่อช่วยตัดสินใจระยะสั้นได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น
2025-07-24ต้องการเทรดอย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้นใช่ไหม? ค้นพบคู่มือฉบับสมบูรณ์เกี่ยวกับรูปแบบแท่งเทียน 3 แท่ง ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพที่เทรดเดอร์ใช้ในการกลับตัวและการดำเนินแนวโน้มอย่างต่อเนื่อง
2025-07-24