ไขข้อสงสัย "ค่าสเปรด คิดยังไง"? เจาะลึกส่วนต่างราคา Bid/Ask ต้นทุนสำคัญในการเทรด พร้อมคำนวณค่าสเปรด
ในโลกของการเทรด การทำความเข้าใจต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายถือสิ่งสำคัญมาก ซึ่งเทรดเดอร์คนอาจสนใจแค่การวิเคราะห์กราฟหรือการคาดการณ์แนวโน้มราคา แต่ละเลยต้นทุนแฝงที่อาจส่งผลกระทบต่อผลกำไรอย่างมีนัยสำคัญ
ซึ่งหนึ่งในต้นทุนเหล่านั้นคือ "ค่าสเปรด" ซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขาย ดังนั้นในบทความนี้ EBC Financial Group จะพาเอฟซีผู้อ่านไปเจาะลึกถึงความหมายและวิธีการคำนวณค่าสเปรด เพื่อเสริมความเข้าใจสามารถวางแผนการเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
ค่าสเปรด (Spread) หมายถึง ส่วนต่างระหว่างราคาซื้อ (Ask Price) และราคาขาย (Bid Price) ของสินทรัพย์นั้น ๆ เปรียบเสมือนส่วนต่างราคาที่เราเห็นเวลาซื้อสินค้าจากร้านค้า ราคารับซื้อ (Bid) มักจะต่ำกว่าราคาขาย (Ask) เสมอ ซึ่งส่วนต่างตรงนี้แหละที่เป็นรายได้หลักของโบรกเกอร์หรือผู้ให้บริการ
ราคา Bid (Bid Price): คือ ราคาสูงสุด ที่ผู้ซื้อ (นักลงทุนคนอื่นหรือโบรกเกอร์) เสนอที่จะซื้อสินทรัพย์นั้นจากเรา
ราคา Ask (Ask Price) หรือ ราคา Offer: คือ ราคาต่ำสุด ที่ผู้ขายเสนอที่จะขายสินทรัพย์นั้น ๆ ให้กับเรา
หมายเหตุ : ค่าสเปรด = ราคา Ask - ราคา Bid
สมมติว่าราคาทองคำขณะนั้น มีราคาเสนอซื้อ (Bid Price) อยู่ที่ 1,800 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และมีราคาเสนอขาย (Ask Price) อยู่ที่ 1,800.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ดังนั้น ค่าสเปรดของทองคำในขณะนั้นคือ 1,800.50 - 1,800 = 0.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ นั่นหมายความว่า หากคุณต้องการซื้อทองคำในขณะนั้น คุณจะต้องซื้อที่ราคา 1,800.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ แต่ถ้าคุณต้องการขายทองคำในขณะนั้น คุณจะขายได้ที่ราคา 1,800 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งส่วนต่าง 0.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์นี้คือต้นทุนในการทำธุรกรรมของเรา
อย่างไรก็ดี ค่าสเปรดยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ สเปรดคงที่ (Fixed Spread) ค่าสเปรดที่โบรกเกอร์กำหนดไว้ตายตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาวะตลาด และสเปรดผันแปร (Variable Spread) หรือ สเปรดแบบลอยตัว (Floating Spread) เป็นค่าสเปรดที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะตลาด หากตลาดมีความผันผวนหรือสภาพคล่องต่ำ สเปรดก็จะกว้างขึ้น
คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใด ๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใด ๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
อยากเทรดทองคำแต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เปิดหลักการพื้นฐานทำไมทองคำถึงเป็นที่น่าสนใจในหมู่เทรเดอร์ พร้อมคำศัพทฺ์ควรรู้ก่อนลงตลาดเทรดทอง
2025-07-15ค้นพบว่าการทับซ้อนของ ETF อาจส่งผลเสียต่อพอร์ตการลงทุนของคุณได้อย่างไร และคุณสามารถดำเนินการอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มการกระจายความเสี่ยงให้สูงสุด
2025-07-15เรียนรู้วิธีใช้ Pivot Point แบบคลาสสิกในการเทรดจุดกลับตัวและการเบรกทะลุแนวรับแนวต้าน พร้อมกลยุทธ์ที่อิงจากแนวรับ แนวต้าน และพฤติกรรมของราคา
2025-07-15