ไขความลับ Bullish Divergence สัญญาณสำคัญที่เทรดเดอร์สายเทคนิคอลต้องรู้ หลักการทำงาน รูปแบบ และ Oscillators ที่ใช้ในการระบุสัญญาณเตือนก่อนตลาดกระทิงมา
สำหรับนักเทรดที่ชื่นชอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการจับจังหวะการกลับตัวของราคาคือ Divergence เพราะนอกจากจะสามารถช่วยให้เทรดเดอร์สังเกตความขัดแย้งระหว่างการเคลื่อนที่ของราคานั้น
หนึ่งในบรรดา Divergence ทั้งหมด Bullish Divergence ถือเป็นสัญญาณที่น่าจับตามองเป็นพิเศษ เพราะมันบ่งบอกถึงโอกาสในการเข้าซื้อเพื่อทำกำไรขาขึ้นที่กำลังจะมาถึงในเวลาอันใกล้ ในบทความนี้เราจึงขอเปิดข้อมูลว่า Bullish Divergence คืออะไรกันแน่ พร้อมหลักการทำงานและรูปแบบจัดเต็มไม่มีกั๊ก
Bullish Divergence คือสัญญาณที่เกิดขึ้นเมื่อราคาของสินทรัพย์ เช่น หุ้น คู่เงิน หรือทอง ทำจุดต่ำสุดใหม่ ทว่าขณะเดียวกัน เครื่องมือทางเทคนิค (Oscillator) ที่เราใช้วัดโมเมนตัม กลับทำจุดต่ำสุดดังกล่าวสูงกว่าจุดต่ำสุดเดิม ซึ่งความขัดแย้งนี้บ่งชี้ว่าแรงขายที่ทำให้ราคายังคงปรับตัวลง เริ่มอ่อนแรงลงแล้ว ขณะที่แรงซื้อเริ่มเข้ามาสะสมมากขึ้น ทำให้มีโอกาสสูงที่ราคาจะกลับตัวเป็นขาขึ้นในไม่ช้า
หลักการของ Bullish Divergence คือเมื่อราคาทำจุดต่ำสุดใหม่ แสดงว่ายังมีแรงขายกดดันอยู่ แต่ถ้าโมเมนตัม (ที่วัดโดย Oscillator) ไม่ได้ทำจุดต่ำสุดใหม่ตามราคา นั่นหมายความว่าแรงขายเริ่มอ่อนแรงลง แรงซื้อที่ซ่อนอยู่เริ่มแข็งแกร่งขึ้น และมีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวขึ้นในที่สุด เทรดเดอร์จึงมองว่า Bullish Divergence เป็นเหมือนสัญญาณเตือนว่า กำลังจะมีแรงซื้อมากขึ้นในตลาด
1. Regular Bullish Divergence (บูลลิชไดเวอร์เจนซ์แบบปกติ): เป็นรูปแบบที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นสัญญาณของการกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้นที่แข็งแกร่ง
ลักษณะ: ราคาสร้างจุดต่ำสุดใหม่ที่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดก่อนหน้า ในขณะที่ Oscillator สร้างจุดต่ำสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดต่ำสุดก่อนหน้า
การตีความ: บ่งชี้ว่าแรงขายอ่อนแอลงอย่างชัดเจน และมีโอกาสสูงที่ราคาจะกลับตัวขึ้น
2. Hidden Bullish Divergence (บูลลิชไดเวอร์เจนซ์แบบซ่อน): รูปแบบนี้มักเกิดขึ้นในช่วงที่ราคายังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น แต่มีการพักตัวระยะสั้น
ลักษณะ: ราคาสร้างจุดต่ำสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดต่ำสุดก่อนหน้า (เป็นการพักตัว) ในขณะที่ Oscillator สร้างจุดต่ำสุดใหม่ที่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดก่อนหน้า
การตีความ: บ่งชี้ว่าแนวโน้มขาขึ้นเดิมยังคงแข็งแกร่ง และการพักตัวนี้เป็นเพียงโอกาสในการเข้าซื้อเพิ่มเติมก่อนที่ราคาจะปรับตัวขึ้นต่อไป
ไม่ใช่สัญญาณที่แม่นยำ 100%: ไม่มีเครื่องมือทางเทคนิคใดที่สามารถให้สัญญาณที่ถูกต้องเสมอไป Bullish Divergence ก็เช่นกัน อาจเกิดสัญญาณหลอก (False Signal) ได้
ควรใช้ใน Timeframe ที่เหมาะสม: ความน่าเชื่อถือของ Bullish Divergence อาจแตกต่างกันไปในแต่ละ Timeframe โดยทั่วไป สัญญาณที่เกิดขึ้นใน Timeframe ที่ใหญ่กว่า (เช่น รายวัน หรือรายสัปดาห์) มักจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า Timeframe ที่เล็กกว่า (เช่น รายนาที หรือรายชั่วโมง)
ต้องพิจารณาสภาวะตลาด: ในบางครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่มีแนวโน้มขาลงที่แข็งแกร่ง Bullish Divergence อาจไม่ได้นำไปสู่การกลับตัวของราคาเสมอไป
ไม่ควรใช้เป็นเครื่องมือเดียว: Bullish Divergence ควรใช้ร่วมกับเครื่องมือและเทคนิคการวิเคราะห์อื่น ๆ เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจ
Bullish Divergence เป็นหนึ่งในสัญญาณที่เทรดเดอร์ไว้ใช้จับจังหวะการกลับตัวของราคาจากขาลงเป็นขาขึ้น การทำความเข้าใจหลักการทำงาน รูปแบบต่าง ๆ และวิธีการใช้งาน Bullish Divergence ร่วมกับเครื่องมืออื่น จัช่วยเพิ่มความมั่นใจและโอกาสในการทำกำไรจากการเทรดได้อย่างมาก แต่ถึงกระนั้น สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าไม่มีเครื่องมืออันไหนที่สมบูรณ์แบบ 100% การเรียนรู้และฝึกฝนการใช้ Bullish Divergence อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งที่ควรทำ
คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใด ๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใด ๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
ไขข้อสงสัย "ค่าสเปรด คิดยังไง"? เจาะลึกส่วนต่างราคา Bid/Ask ต้นทุนสำคัญในการเทรด พร้อมคำนวณค่าสเปรด
2025-07-15อยากเทรดทองคำแต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เปิดหลักการพื้นฐานทำไมทองคำถึงเป็นที่น่าสนใจในหมู่เทรเดอร์ พร้อมคำศัพทฺ์ควรรู้ก่อนลงตลาดเทรดทอง
2025-07-15ค้นพบว่าการทับซ้อนของ ETF อาจส่งผลเสียต่อพอร์ตการลงทุนของคุณได้อย่างไร และคุณสามารถดำเนินการอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มการกระจายความเสี่ยงให้สูงสุด
2025-07-15