เปิดข้อมูล ดัชนี Fear & Greed Index เครื่องมือเช็กอารมณ์ของนักลงทุนในตลาดหุ้น ทำไมจึงสำคัญในภาวะตลาดผันผวน
นับตั้งแต่ที่โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาสมัยที่ 2 นั้น ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงเกิดความผันผวนอย่างมาก โดยเฉพาะการประกาศใช้มาตรการขึ้นภาษีนำเข้าแบบสุดขั้ว เพื่อหวังดึงเม็ดเงินเข้าอเมริกาให้มากขึ้น หลังเกิดภาวะการขาดดุลทางการค้ามาอย่างยาวนาน
ทำให้ทั้งนักลงทุนและเทรดเดอร์จำนวนมากต่างกังวลว่าสงครามการค้าครั้งนี้จะจบลงเมื่อไหร่ ดังนั้นในบทความนี้ เราจึงขอเปิดข้อมูลเครื่องมือยอดฮิตอย่าง “ดัชนี Fear & Greed Index“ ที่ไว้ใช้ดูภาพรวมของตลาดหลักทรัพย์ว่าคืออะไร ทำงานยังไง และเกี่ยวข้องกับนักลงทุนอย่างไร
ดัชนี Fear & Greed Index หรือ ดัชนีความกลัวและความโลภ เป็นมาตรวัดที่พัฒนาโดย CNN Business เพื่อประเมินสภาวะทางจิตวิทยาของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อบ่งชี้ว่านักลงทุนโดยรวมกำลังแสดงความรู้สึกกลัวหรือความโลภมากเกินไป และอาจส่งผลกระทบต่อราคากับสินทรัพย์ในอนาคตได้
ราคาโมเมนตัมของหุ้น (Stock Price Momentum)
ความแข็งแกร่งของราคาหุ้น (Stock Price Strength)
ความผันผวนของตลาดหุ้น (Stock Price Volatility)
อุปสงค์ของสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven Demand)
ส่วนต่างราคาหุ้น (Put/Call Ratio)
ความกว้างของตลาด (Market Breadth)
อุปสงค์ของหุ้นที่มีสถานะต่ำกว่าอันดับการลงทุน (Junk Bond Demand)
ต่อมาเมื่อได้ข้อมูลจากตัวชี้วัดทั้ง 7 เรียบร้อย ดัชนีจะนำมาคำนวณและแสดงผลเป็นค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับหลัก ๆ พร้อมคะแนน คือ ความกลัวสุดขีด (0-24) , ความกลัว (25-49) , เป็นกลาง (50) , ความโลภ (51-74) และความโลภสุดขีด (75-100)
จากนั้นนักลงทุนหรือเทรดเดอร์สามารถนำดัชนีนี้ไปประยุกต์ใช้ในการลงทุนได้ โดยใช้เป็นสัญญาณเตือนเมื่อตลาดอาจจะร้อนแรงเกินไปในภาวะความโลภสุดขีด หรือมองหาโอกาสในการเข้าซื้อเมื่อตลาดอยู่ในภาวะความกลัวสุดขีด
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักคือ ดัชนี Fear & Greed Index เป็นเพียงแสดงภาพรวมของตลาดเท่านั้น และอาจมีความแม่นยำที่ไม่สมบูรณ์ จึงอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นได้ ดังนั้นการนำดัชนีนี้ไปใช้ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์อื่น ๆ และพิจารณาปัจจัยพื้นฐานของหลักทรัพย์ที่สนใจลงทุนอย่างรอบคอบจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง
คำเตือน: เอกสารนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นคำแนะนำทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่นใดที่ควรอ้างอิง (และไม่ควรพิจารณาว่าเป็นคำแนะนำ) ความคิดเห็นใด ๆ ในเอกสารนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำของ EBC หรือผู้เขียนว่ากลยุทธ์การลงทุน หลักทรัพย์ ธุรกรรม หรือการลงทุนใด ๆ เหมาะสมกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
เรียนรู้ว่าดัชนี Euro Stoxx 50 คืออะไร มีบริษัทใดบ้างที่รวมอยู่ในดัชนี และวิธีการซื้อขายอย่างมีประสิทธิภาพในปี 2568 เพื่อเปิดรับความเสี่ยงทั่วโลก
2025-07-04ค้นพบ 10 ประเทศในเอเชียที่มีสกุลเงินที่แข็งแกร่งที่สุดในปี 2025 และเรียนรู้ว่าอะไรทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศเหล่านั้นทรงพลังมากในเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน
2025-07-04สำรวจวงจรหลักและความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบตั้งแต่ทศวรรษ 1860 ถึงปี 2025 ตั้งแต่ความผันผวนในช่วงแรกจนถึงภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน
2025-07-04